ธีร กรุ๊ป บริษัทที่มุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศในอุตสาหกรรมกัญชาและสมุนไพรในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผนึกกำลังพันธมิตรบริษัท Prohibition Partners (UK) บริษัทชั้นนำด้านข้อมูลข่าวสารในอุตสาหกรรมกัญชาระดับโลก จัดงาน TEERA Ecosystem Launch ร่วมนำเสนอผลรายงาน Asian Cannabis Report 2022 รายงานที่ให้การยอมรับในระดับสากล มีผู้อ่านทั่วโลกสนใจกว่า 150,000 คน เผยข้อมูลอัพเดทสถานการณ์ของอุตสาหกรรมกัญชาในภูมิภาคเอเชีย ไทย อินเดีย ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกงและเกาหลี นับเป็นโอกาสที่ดีช่วยส่งเสริมให้อุตสาหกรรมกัญชงและกัญชาระดับภูมิภาค และ ระดับโลกสามารถเข้าใจและเข้าถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมกัญชาในตลาดภูมิภาคเอเชีย
นาย นดล ไชยเจริญ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ธีร กรุ๊ป เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้จับมือร่วมกับบริษัท Prohibition Partners (UK) เพื่อจัดงาน TEERA Ecosystem Launch ขึ้น ในวันที่ 21 ตุลาคม 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการจะนำเสนอผลรายงานร่วมกันที่เป็น Asian Cannabis Report 2022 เชิง Exclusive report: Businesss Insights into the Thai Cannabis Market ที่ให้ข้อมูลเชิงลึกในด้านธุรกิจและการลงทุนในอุตสาหกรรมกัญชาในประเทศไทย ขณะเดียวกันก็เป็นการอัพเดทสถานการณ์ของอุตสาหกรรมกัญชาประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย เช่น ประเทศไทย อินเดีย ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกงและเกาหลี ทั้งในด้านกฎหมาย นโยบาย โอกาสทางการค้าและการลงทุน เทรนด์ด้านการบริโภค รวมถึงการพัฒนาและแนวทางในอนาคตของอุตสาหกรรมกัญชาในภาคพื้นทวีปเอเชีย
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียที่ทำกัญชาอย่างถูกต้องตามกกฎหมาย รวมถึงมีนโยบายครอบคลุมทั้งการนำมาใช้ทางการแพทย์และการผลักดันให้เป็นพืชเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ปี 2565 ที่ผ่านมา จึงทำให้ทั่วโลกต่างจับตามองและให้ความสนใจ ประกอบกับรายงานดังกล่าวเป็นรายงานที่ให้การยอมรับในระดับสากล มีผู้อ่านทั่วโลกสนใจกว่า 150,000 คน นับเป็นโอกาสที่ดีที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมกัญชงและกัญชาระดับภูมิภาค และ ระดับโลกสามารถเข้าใจและเข้าถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมกัญชงและกัญชาในตลาดภูมิภาคเอเชีย
ที่ผ่านมา บริษัทธีร กรุ๊ป ได้เริ่มต้นวิเคราะห์อุตสาหกรรมกัญชาทั่วโลกในหมวด ’กองทุน’ ร่วมกับบริษัท Prohibition Partners ซึ่งเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงในอุตสาหกรรมกัญชาระดับโลก มาก่อน ตั้งแต่ตอนที่กฎหมายในประเทศไทยยังไม่รับรองการปลูกกัญชา ดังนั้นการเปิดตัว ASIAN CANABIS Report นับเป็นผลงานชิ้นที่ 2 ของเอเชีย และเป็นรายงานฉบับแรกที่ทำในรูปแบบ Partnership คือ ร่วมกันเขียนและผลิต จึงถือว่าเป็นรายงานที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศไทย ในแวดวงอุตสาหกรรมกัญชาระดับโลก
นอกจากนี้ยังเป็นรายงานที่จะช่วยทำให้ธุรกิจกัญชา ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลกฎหมาย การบริโภค รวมถึงทางการแพทย์และสันทนาการของแต่ละประเทศในทวีปเอเซีย ได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากบริษัทมองเห็นโอกาสของอุตสาหกรรมการเกษตรที่มีขนาดใหญ่มากในประเทศยุโรป ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น โดยเฉพาะตลาด ยุโรป มีความจริงจังกับการพัฒนากัญชาเพื่อการแพทย์ อย่างมาก ถึงขั้นให้ความสำคัญกับการจะสร้างมาตรฐาน GACP และ EU GMP ที่ครบครันเป็นเจ้าแรกในประเทศไทย ภายใน ปี 2566 -2567 นี้
อย่างไรก็ดี นาย นดล กล่าวเสริมว่า ที่ผ่านมานโยบายของบริษัทจะให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าให้กับสมุนไพรไทย เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งการเพาะปลูกสมุนไพรนานาพันธุ์ แต่กลับไม่มีใครมองเห็นมูลค่า จนมาถึงยุคนี้ที่ทางการแพทย์ให้ความสนใจกับปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น บริษัทจึงเข้าไปจับมือกับทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันพัฒนาสมุนไพรไทยในด้านของนำมาใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่า อาทิ จับมือกับสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการร่วมกันพัฒนายกระดับมาตรฐานสมุนไพรไทยผ่านงานวิจัยต่าง ๆ
ล่าสุดขณะนี้กำลังศึกษาสมุนไพรไทย เช่น กวาวเครือ, เห็ดขี้ควาย (psilocybin) ที่สรรพคุณช่วยเรื่องสุขภาพจิต ตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยระดับโลก เช่น John Hopkins University หรือ King’s College London และ Imperial College London รวมถึงการนำกัญชาสมุนไพรไทยไปยัง ‘ตลาดโลก’ การที่จะสามารถจดเป็นสิทธิบัตรสูตรสมุนไพรหรือสูตรยาได้นั้น วัตถุดิบคือ ตัวกัญชาจำเป็นต้องมีมาตรฐานคงที่ ปลูกแล้วมีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์สูงเสียก่อน ดังนั้นบริษัทจึงมีแนวคิดที่จะเข้าช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้นี้ให้กับเกษตรกรเพื่อผลักดันให้เกิดโมเดลธุรกิจแบบที่เรียกว่า Social enterprise
ส่วนในเรื่องของนักวิจัยไทยปัจจุบันพบว่ามีปัญหาเรื่องขาดเงินสนับสนุนด้านงานวิจัย บริษัทจึงมองทิศทางระยะยาวว่า ควรเข้าไปร่วมทำงานกับนักวิจัยไทยเพื่อพัฒนาและผลิตผลงานเขียนงานวิจัยที่จะตีพิมพ์ไปในระดับนานาชาติ ในเรื่องของการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ตลอดจนการทดลองและการขึ้นต้นผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยได้
ทั้งหมดนี้เป็นการทำงานที่เรียกว่า ‘ทีม’ ที่ทุกคนในอุตสาหกรรมนี้จะต้องกันสนับสนุนกันและกัน ทั้งเรื่ององค์ความรู้และทรัพยากรอื่น ๆ ปัจจุบันทางบริษัทก็เข้าไปส่วนหนึ่งในการช่วยผลักดันระบบนิเวศน์นี้ ตั้งแต่ต้นน้ำอย่างเกษตรกร นักวิจัย ไปจนถึงปลายน้ำ คือ ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยดังกล่าว ซึ่งไม่ใช่แค่ผลงานวิจัย แต่ต้อง Commercialize ในระดับนานาชาติให้ได้ด้วย
นอกจากนี้ ภายในงาน TEERA Ecosystem Launch ที่จัดขึ้นในวันที่ 21 ตุลาคม 2565 ยังได้จัดให้มีการเสวนาจากผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้หัวข้อที่ชื่อว่า Safety, Efficacy, Quality และ Community มีจำนวนผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด 120 คน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการภาคเอกชนทั้งในไทยและต่างชาติ นักลงทุน สถาบันและองค์กรต่าง ๆ และ สื่อมวลชน
More Stories
ยาดมตราโป๊ยเซียน เปลี่ยนพลาสติกเป็นถนน UPCYCLING ลดปัญหาพลาสติกสะสมในประเทศ เพื่อประโยชน์อย่างยั่งยืนของคนไทย
หลังคาไวนิลท้องเรียบ กันความร้อนได้ไหม
เอสซีจี คว้า 5 รางวัลงาน TMA Excellence Awards 2024 โดดเด่นด้านผู้นำ พัฒนาคนธุรกิจเติบโตยั่งยืนด้วยนวัตกรรมกรีน ปรับองค์กรคล่องตัวยิ่งขึ้นรับทุกความท้าทายโลก