จากซ้ายไปขวา: คุณ Xu Genluo รองประธานกรรมการการค้าไทย-จีน ดร.จิราพร วิริยพงษ์สกุล ประธานสหภาพอุตสาหกรรมสิ่งทอแห่งประเทศไทย คุณ Yang Dongsheng
คุณ Zhang Xiaoxiao ที่ปรึกษาแผนกพาณิชย์ สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย คุณ Zhou Guangyao หัวหน้าตัวแทนสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจีนประจำประเทศไทย คุณ Zhuang Jiexiang รองเลขาธิการสถาบันการค้าไทย
คุณณิศาณา ธวัชพาณิชย์ ผู้บริหารสำนักงานพัฒนาตลาดต่างประเทศ แผนกส่งเสริมการค้า กระทรวงพาณิชย์ไทย
กรุงเทพฯ ประเทศไทย – คณะกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจีน (China Council for the Promotion of International Trade หรือ CCPIT) ประกาศความสำเร็จนิทรรศการ “ความร่วมมือสีเขียว แม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง” (Lancang-Mekong Green Cooperation Exhibition)ที่จัดขึ้น ณศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) กรุงเทพฯ ประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 – 26 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ดึงดูดผู้สนใจเข้าร่วมนับพันคน สร้างความตระหนักผู้คนอย่างมากผ่านการนำเสนอผลงานความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-ล้านช้าง สะท้อนความรุ่งโรจน์ความร่วมมือแห่งทศวรรษ สู่การกำหนดบทใหม่แห่งการพัฒนาสีเขียวอย่างยั่งยืน พร้อมแสดงให้เห็นถึงการยอมรับและการสนับสนุนกรอบความร่วมมือจากภาครัฐและทุกภาคส่วนของทั้งประเทศไทยและประเทศจีน
งานนิทรรศการ “ความร่วมมือสีเขียว แม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง”โดยองค์กรส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (CCPIT) ซึ่งมีบริษัท Shanghai Pudong International Exhibition Co., Ltd. เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดงานผ่านพ้นไปด้วยดี และประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2567 โดยมี Zhou Guangyao (โจว กวงเหยา) ผู้แทนองค์กรส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย เป็นผู้กล่าวต้อนรับในนามผู้จัดงาน ร่วมด้วยแขกกิติมศักด์ร่วมกล่าวสุนทรพจน์ อาทิ Zhang Xiaoxiao (จาง เซียวเซียว) ที่ปรึกษาสำนักงานธุรกิจการค้า สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย Yang Dongsheng (หยาง ตงเชง) รองประธานองค์กรส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศนครเซี่ยงไฮ้ Xu Genluo (ซู่ เจนหลอ) รองประธานสภาธุรกิจไทย-จีน และ ดร. จิราพร วิริยะพงศ์สกุล ผู้แทนสหภาพการค้าอุตสาหกรรมแห่งประเทศ
คุณโจว กวงเหยา (Zhou Guangyao) ผู้แทนองค์กรส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐ กล่าวเปิดงาน
อีกทั้งยังมีผู้นำหน่วยงานและสถาบันที่เกี่ยวข้องทั้งของไทยและจีนเข้าร่วมการเปิดนิทรรศการ ซึ่งประกอบด้วย กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศไทย สถาบันการค้าไทย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมการค้าเมืองไห่หนาน กรมส่งเสริมการค้าเมืองหนิงโป กรมการค้าระหว่างประเทศนครเซี่ยงไฮ้ สำนักงานสิ่งแวดล้อมนครเซี่ยงไฮ้ สหภาพอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงานชนบทจงกวน สมาคมอุตสาหกรรมพลังงานสีเขียวเมืองยูนนาน พันธมิตรส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จยานพาหนะไฟฟ้าแห่งประเทศจีน นอกจากนี้ยังมีผู้แทนเขตความร่วมมือสีเขียวลุ่มแม่น้ำโขง-ล้านช้าง และแขกผู้ร่วมงานทั้งไทยและจีน รวมถึงตัวแทนสื่อมวลชนร่วมเป็นสักขีพยานในงานอีกด้วย
คุณ Zhou Guangyao ผู้แทนองค์กรส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย กล่าวสุนทรพจน์ว่า “CCPIT (Lancang-Mekong) Green Cooperation Exhibition มีองค์กรส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นผู้ริเริ่ม เพื่อส่งเสริม “กรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-ล้านช้าง” นิทรรศการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางการค้าและความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน โดยจัดขึ้นสลับกันในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง-ล้านช้างมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว เมียนมาร์และเวียดนาม หากดำเนินการตามแผนปฏิบัติการตามแผนกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-ล้านช้าง ซึ่งใช้ระยะเวลา 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2566-2570 จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสีเขียวระหว่างประเทศไทยและประเทศจีนมากยิ่งขึ้น งานนิทรรศการครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความเป็นมาอันรุ่งเรืองของกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-ล้านช้าง ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังคาดหวังต่อโครงการความร่วมมือในอนาคตมากขึ้นอีกด้วย พวกเขายังได้เน้นย้ำในฐานะสมาชิกสำคัญของกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-ล้านช้าง ทั้งประเทศไทยและประเทศจีนจะยึดมั่นในหลักการการปรึกษาหารือ รอยต่อก่อสร้างและผลประโยชน์ร่วมกัน ขยายความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสีเขียวเพิ่มขึ้น อีกทั้งร่วมกันเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงภูมิภาคสีเขียวเพื่อความสงบสุข ความมั่นคงและความรุ่งเรืองของพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง-ล้านช้างอีกด้วย”
ภายในงานยังมีการประชุมสุดยอดความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีสีเขียวระหว่างไทยและจีนอีกด้วย ในการประชุมครั้งนี้เป็นการรวมผู้นำด้านอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการของทั้งไทย-จีนและเขตพื้นที่แม่น้ำโขง-ล้านช้างเข้าร่วม เพื่อแลกเปลี่ยนหารือกันในเชิงลึกเกี่ยวกับการพัฒนาและแนวโน้มในอนาคตของเทคโนโลยีสีเขียว เช่น รถยนต์ไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าโซล่าเซลล์ ตลอดทั้งการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ตัวแทนชั้นนำจากอุตสาหกรรมทั้งไทยและจีนที่เข้าร่วม อาทิ องค์กร China Energy Storge Alliance บริษัท เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ longigreen จำกัด และ บจก. หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) อีกทั้งยังมีการแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกทางด้านอุตสาหกรรมและประสบการณ์เชิงปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจากไทยและจีน อาทิเช่น สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ในจีนและพันธมิตรส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จยานพาหนะไฟฟ้าแห่งประเทศจีนมาแลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์ แนวคิดและทิศทางใหม่ ๆ สำหรับความร่วมมือระหว่างไทย-จีนในด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
งานนิทรรศการ “ความร่วมมือสีเขียว แม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง” จัดขึ้นที่เดียวกับงาน “Thailand Green Technology Expo 2567 (ครั้งที่ 2) รูปแบบนิทรรศการโดยรวมไม่เพียงแต่จะสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างไทย-จีนในด้านเทคโนโลยีสีเขียวเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนร่วมกันของเขตลุ่มแม่น้ำโขง-ล้านช้างอีกด้วย โดยมีพื้นที่จัดงานถึง 1,000 ตารางเมตร มีบริษัทชั้นนำจากประเทศจีนเข้าร่วมงานทั้งสิ้น 34 บริษัท อาทิเช่น Huawei, Longi Green Energy, GAC Aion, Haima Automobile, Yinghe Technology, Tailing และ Yadea ฯลฯ ซึ่งได้นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ และผลิตภัณฑ์ที่ล้ำสมัยมาจัดแสดงเพื่อนำเสนอเทคโนโลยีสีเขียวแก่ผู้มาเยี่ยมชมงาน นอกจากนี้ผู้จัดยังได้จัดกิจกรรมนิทรรศการเกี่ยวกับเทคโนโลยี การประชุมจับคู่ธุรกิจ การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ การประชุมเพื่อส่งเสริมนโยบายและกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกันอีกมากมาย
รวมทั้งการแสดงผลงานความร่วมมือถึง 20 โครงการของทั้ง 6 ประเทศ เช่น การพัฒนาสีเขียว การรักษาระบบนิเวศและพลังงานสะอาด ฯลฯ โครงการจำจัดขยะมูลฝอยในประเทศลาวหลังจากมีการจัดตั้งศูนย์ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม โครงการถั่วสายพันธ์ใหม่ของเมียนมาร์และการเพิ่มผลผลิตอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการจัดหาน้ำอัจฉริยะของกัมพูชาที่เข้าร่วมโดยธนาคารเทคโนโลยีสีเขียว โครงการไฟถนนอัจฉริยะเมียนมาร์ของสมาคมอุตสาหกรรมพลังงานสีเขียวยูนนาน ฯลฯ
นิทรรศการจัด 4 วันที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่จะช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเชิงลึกและความร่วมมือระหว่างไทย-จีนในด้านเทคโนโลยีสีเขียวเท่านั้น แต่ยังเพื่อการศึกษาสำรวจเส้นทางและแนวทางใหม่ ๆ ในการพัฒนาสีเขียวอย่างยั่งยืนในเขตลุ่มแม่น้ำโขง-ล้านช้างและทั่วโลก ความสำเร็จในการจัดนิทรรศการครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือในเขตลุ่มแม่น้ำโขง-ล้านช้างและช่วยสนับสนุนพลังงาน สร้างชุมชนให้มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติอีกด้วย
More Stories
การใช้โบลเวอร์อุตสาหกรรม ในระบบอุตสาหกรรมยุคใหม่
PDPC มอบหนังสือกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและหนังสือสาระน่ารู้เกี่ยวกับ PDPA ให้แก่ สถาบันพระปกเกล้า
MarTech MarTalk 2024 EP.3: From Seeds to Success พาธุรกิจทุกสาย ปลูกต้นกล้าแห่งความสำเร็จ