กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย และ “ไทยเรล โลจิสติกส์” เปิด “ศูนย์รวมและกระจายการขนส่งสินค้าเกษตรทางราง ศรีสำราญ” อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี อย่างเป็นทางการ หนุนเป็นศูนย์รวมขนส่งสินค้าเกษตรทางรางของภาคกลาง ที่กระจายสินค้าส่งทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ขนส่งเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน ทั้ง สปป.ลาว จีน กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ ช่วยลดต้นทุนการขนส่งให้ถูกลงกว่า50%ในยามวิกฤติน้ำมันแพง ประเดิมขนส่งเที่ยวแรกส่งสินค้าเกษตร 10 ตู้คอนเทนเนอร์ ทั้งข้าวสาร อาหารสัตว์ วัว ลงสู่ภาคใต้อย่างรวดเร็ว ช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาน้ำท่วม วัว10ล้านตัวขาดแคลนอาหาร ด้าน “ไทยเรล โลจิสติกส์ ” ประกาศพร้อมบริการขนส่งทางรางครบวงจร เตรียมขยายเส้นทางขนส่งสินค้าครอบคลุมในประเทศ และขนส่งชายแดนเชื่อมต่อเพื่อนบ้าน ได้เจรจา บ.โลจิสติกส์ สปปล. กัมพูชาและมาเลเซียคืบหน้า
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคมที่ผ่านมาได้มีพิธีเปิด “ศูนย์รวมและกระจายการขนส่งสินค้าเกษตรทางราง ศรีสำราญ ” อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี อย่างเป็นทางการ โดยมีนายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานเปิดงานนายนัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ให้การต้อนรับ นางขนิษา วิมลวัฒนา นายกเทศมลตรีเมืองสองพีน้อง กล่าววัตถุของการจัดงาน นางสาวณัฏฐา ธนกิจสถาพร ประธานบริหาร บริษัท ไทยเรล โลจิสติกส์ จำกัด กล่าวนโยบายของโครงการ และ นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวถึงความร่วมมือของการใช้พื้นที่ ที่หยุดรถศรีสำราญเป็นศูนย์รวมและการกระจายการขนส่งสินค้า การเกษตรทางราง
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การเปิด “ศูนย์รวมและกระจายการขนส่งสินค้าเกษตรทางราง ศรีสำราญ” อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี อย่างเป็นทางการ หนุนเป็นศูนย์รวมขนส่งสินค้าเกษตรทางรางของภาคกลาง ที่กระจายสินค้าส่งทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ขนส่งเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน ทั้ง สปป.ลาว จีน กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ ช่วยลดต้นทุนการขนส่งให้ถูกลงกว่า50%ในยามวิกฤติน้ำมันแพง ประเดิมขนส่งเที่ยวแรกส่งสินค้าเกษตร 10 ตู้คอนเทนเนอร์ ทั้งข้าวสาร อาหารสัตว์ วัว ลงสู่ภาคใต้ช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาน้ำท่วม
“เกษตรกรทุกวันนี้ประสบปัญหาค่าใช้จ่าย น้ำมันแพงการขนส่งสินค้าการเกษตร ทางรางกระจายส่งสินค้า ทั้งในประเทศและส่งออกประเทศเพื่อนบ้าน จะช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกรลงมากกว่า50% ปัจจุบัน เรามีสินค้า 5 อย่างส่งไปต่างประเทศ 1.ข้าวสารปีละ10 ล้านตัน 2.ยางพารา 3.น้ำมันปาล์ม 4.อ้อยและ น้ำตาล และ5.สินค้าอาหารทะเล ปีหนึ่งเป็นพันล้านตัน
วันนี้พลังงานแพงทำให้ต้นทุนสูง การแข่งขันสู้ต่างประเทศไม่ได้ โชคดีได้การรถไฟแห่งประเทศไทยและ บริษัทไทยเรล โลจิสติกส์ จำกัด ผู้ให้บริการขนส่งทางรางอย่างครบวงจร จับมือ พัฒนาร่วมด้านขนส่งทางราง ช่วยลดการใช้จ่ายการขนส่งมากกว่าครึ่งหนึ่ง ถ้าสามารถเปิดการขนส่งสำเร็จจะส่งผลดีต่อเกษตรกร เพราะถ้าขนส่งทางรถไฟ ขนส่งทางรางช่วยลดต้นทุนการส่งสินค้าลงกว่า50 % จะส่งผลดีต่อเกษตรกรอย่างมาก
สำหรับการขนส่งปฐมฤกษ์วันนี้ ได้มีการขนส่งสินค้าเกษตร ลงไปจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนราธิวาส 10 ตู้คอนเทนเนอร์ โดยมีการขนส่งวัว 2ตู้คอนเทนเนอร์ จำนวน 40 ตัวให้เกษตรกร ขนส่งทางรางจะมีความรวดเร็ว ถ้าขนส่งรถยนต์จช้า 7 วัน มีการขนส่งอาหารสัตว์1ตู้คอนเทนเนอร์ให้ถึงมือเกษตรกรอย่างรวดเร็วทันท่วงทีลดต้นทุนได้จริง เพราะปัจจุบันภาคใต้ประสบปัญหาน้ำท่วมอาหารสัตว์ขาดแคลน วัว 10 ล้านตัวขาดแคลนอาหาร
นอกจากนี้มีข้าวสารส่งจังหวัดนราธิวาส และเดือนต่อไปจะมีการขนส่งผลไม้ อย่างทุเรียนไปในประเทศและต่างประเทศ ความสำเร็จวันนี้จะเชื่อมขนส่งไปต่างประเทศได้ โดยเฉพาะประเทสเพื่อนบ้าน จะมีการส่งไปมาเลเซีย สิงคโป สปป.ลาว ต่อไปจีน และมีการส่งไปกัมพูชา การขนส่งทางรถไฟผลักดันการขนส่งสินค้าเกษตรไปต่างประเทศได้เป็นอย่างดี ” นายประภัตรกล่าว
นางสาวณัฏฐา ธนกิจสถาพร ประธานบริหาร บริษัท ไทยเรล โลจิสติกส์ จำกัด ให้บริการด้านการขนส่งสินค้าทางรางอย่างครบวงจร เพือช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับเจ้าของสินค้า และผู้ประกอบการ ที่ต้องการขนถ่ายสินค้าไปทั่วประเทศ เปิดเผย ว่าการเปิด “ศูนย์รวมและกระจายการขนส่งสินค้าเกษตรทางราง ศรีสำราญ ” อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี นี้เป็นขบวนแรกที่ให้บริการขนส่งทางรางอย่างเป็นทางการ หลังจากที่ได้เปิดทดลองใช้บริการขนส่ง เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพื่อทดลองระบบและการใช้เส้นทาง โดยทดลองขนส่งสินค้าทางรถไฟ เส้นทางจุดหยุดรถศรีสำราญ จ.สุพรรณบุรี-สถานีบ้านทุ่งโพธิ์ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานีให้กับบริษัทบุญรอดซัพพลายเชน จำกัด การทดลองขนส่งสินค้าในครั้งนี้ทำให้ทราบว่า การขนส่งทางรถไฟจะช่วยเอื้ออำนวยความสะดวกในเรื่องของการขนส่งได้มากน้อยอย่างไร รวมถึงการช่วยลดต้นทุนการขนส่ง อุปสรรค ปัญหาที่จะเกิดขึ้นระหว่างการขนส่งจากต้นทางถึงปลายทาง การโหลดสินค้าขึ้นลง หรือขั้นตอนวิธีการต่าง ๆ จากการทดลองขนส่ง เพื่อนำประสบการณ์นี้ไปปรับปรุงแก้ไข
การเดินขบวนขนส่งอย่างเป็นทางการในครั้งนี้เป็นการขนส่งสินค้าเกษตรลงสู่ภาคใต้ และในอนาคตจะมีการขยายเส้นทางขนส่งสินค้าไปทุกเส้นทุกภาคในประเทศ เพราะบริษัทได้มีความพร้อมการบริการแบบครบวงจร ช่วยลดต้นทุนการขนส่งให้ผู้ประกอบการมากกว่า30% เมื่อเทียบกับการขนส่งในรูปแบบอื่น และมีการขยายการขนส่งสู่ชายแดนและเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งสปป.ลาว จีน กัมพูชา ทางภาคใต้เชื่อต่อไปประเทศมาเลเซีย สิงค์โปร์
ทั้งนี้การขนส่งสินค้าเชื่อมต่อเข้าสู่ประเทศเพื่อบ้านนั่นได้มีการเข้าเจรจาร่วมมือกัน ทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ ประเทศมาเลเซียได้จับมือกับสุลต่าน 3รัฐของมาเลเซียร่วมธุรกิจการขนส่งสินค้าระหว่างกันซึ่งมีความคืบหน้าไปมาก ในขณะที่การเจรจากับสปป.ลาว ได้จับมือกับบริษัทเวียงจันโลจิสติกส์ในการร่วมบริการขนส่งทางรางร่วมกันและจะมีการส่งต่อสินค้าไปยังประเทศจีนในอนาคต
ส่วนกลุ่มลูกค้าอนาคต ตั้งเป้ากลางปีหน้าขนส่งสินค้าเต็มขบวนถึงปาดังเบซาร์ ประเทศมาเลเซียทุกวัน วันละ 1 ขบวนไป-กลับ พร้อมเล็งส่งสินค้าเกษตร ผักผลไม้ไกลถึงจีน ในส่วนขากลับจะมีสินค้ากลับมาด้วยเป็นยางพาราและกลุ่มสินค้าจำพวกอะไหล่อิเล็กทรอนิกส์จากท่าเรือปีนังของมาเลเซียที่ขนส่งจากอินเดียกลับมา เพื่อจะส่งต่อไปยังจีนและไต้หวัน
“หลังจากการให้บริการขนส่งสินค้าการเกษตร ให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อลดต้นทุนเกษตรกรแล้ว บริษัท ไทยเรล โลจิสติกส์ จำกัด ยังมีนโยบายที่จะขนส่งสินค้าเกษตร ผลไม้ตามฤดูกาลไปให้ผู้ประกอบการนำเข้าผักผลไม้รายใหญ่ในจีนด้วย ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าภาคอุตสาหกรรมและการเกษตรติดต่อเข้ามาค่อนข้างมาก ตัวอย่างหน่วยงานที่สนใจ เช่น บริษัท ดีเอชแอล ซัพพลายเชน (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท Flash Express (แฟลชเอ็กซ์เพรส) บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัดและการท่าเรือ เป็นต้น”
นางสาวณัฏฐา กล่าวต่อว่า การขนส่งสินค้าทางรถไฟมีจุดเด่นในเรื่องความปลอดภัย ความปลอดภัยของคนขับที่ต้องขับรถระยะไกล ค่าใช้จ่ายด้านความเสื่อมสภาพรถยนต์และซ่อมบำรุงรถยนต์ต่ำลง น้ำมันราคาสูงขึ้นและช่วยลดปัญหาเรื่องมลพิษ
More Stories
“ภูมิธรรม” ควง “นภินทร สุชาติ” โชว์ผลสำเร็จพาณิชย์จับมือทุกภาคส่วน ดูแลพืชเกษตรหลัก พืชเกษตรรอง ดันราคาพุ่ง สร้างรายได้เกษตรกรไทยเพิ่มเฉียด 2 แสนล้าน
“ผำ พืชเกษตรตัวใหม่ผ่านการวิจัยพร้อมแปรรูปสู่เชิงพาณิชย์ ” ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
วว. ภูมิใจ โมเดล “มาลัยวิทยสถาน” สนับสนุน พัฒนา ยกระดับศักยภาพเกษตรกรและชุมชน เติบโตยั่งยืน