
กรมการปกครอง ยังคงเดินหน้าส่งเสริมการปฏิบัติงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) มอบรางวัลหมู่บ้านเข้มแข็งตามแนวทาง “แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง” (หมู่บ้านอยู่เย็น) ประจำปี พ.ศ.2564 ระดับจังหวัด เนื่องในวันที่ 9 มีนาคม 2565 วันคณะกรรมการหมู่บ้าน รวมจำนวนทั้งสิ้น 93 รางวัลทั่วประเทศ เพื่อสร้างแรงจูงใจและให้รางวัลแก่หมู่บ้านที่มีผลงานโดดเด่น สามารถเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงานให้แก่หมู่บ้านอื่นๆ นอกจากนี้ ยังผลักดันคณะกรรมการหมู่บ้าน ให้เป็น “รากฐานของแผ่นดิน” ให้มีความสำคัญต่อกระบวนการบริหารพัฒนาประเทศ ซึ่งคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นบุคคลในระดับพื้นที่ที่มีความใกล้ชิดกับประชาชน โดยทำหน้าที่ในการนำนโยบายของภาครัฐไปปฏิบัติและขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์สุขกับประชาชนในหมู่บ้าน ทำให้ประชาชน “ทุกข์น้อยลง สุขมากขึ้น” ดังคำที่ว่า “ประเทศต้องมีรัฐบาล หมู่บ้านต้องมี กม.”

คณะกรรมการหมู่บ้าน หรือ กม. ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พุทธศักราช 2486 มีบทบาทหน้าที่ในการช่วยเหลือแนะนำให้คำปรึกษาแก่ผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวกับกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่ บ้านและปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ รวมทั้งเป็นองค์กรหลักที่รับผิดชอบในการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านและบริหารจัดการกิจกรรมที่ดำเนินงานในหมู่บ้านร่วมกับองค์กรอื่นทุกภาคส่วน

กม. ประกอบไปด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำ ผู้แทนกลุ่ม หรือองค์กรในหมู่บ้าน และกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ประสานการทำงานเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นพลังสำคัญในการช่วยเหลือแนะนำ และให้คำปรึกษาแก่ผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวกับกิจกรรมอันเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน และบูรณาการการแก้ไขปัญหาและพัฒนาหมู่บ้าน ให้มีความเข้มแข็งตามแนวทางแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ก่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยการทำงานในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 5 มิติหลัก ได้แก่ 1. มิติด้านการปกป้องเทิดทูนสถาบันหลักของชาติ 2. มิติด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจ 3. มิติด้านการพัฒนาสังคม 4. มิติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และ 5. มิติด้านการพัฒนาคนและสร้างเสริมสุขภาพกายใจ ทั้งหมดนี้เพื่อพัฒนาหมู่บ้านให้มีความมั่นคง และมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศในทุกมิติ
ติดตามรายละเอียดคณะกรรมการหมู่บ้าน ตลอดจนผลงานที่น่าภาคภูมิใจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้ทางเว็บไซต์ www.kummakarnmoobaan.com








กรมการปกครอง ยังคงเดินหน้าส่งเสริมการปฏิบัติงานของคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) มอบรางวัลหมู่บ้านเข้มแข็งตามแนวทาง “แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง” (หมู่บ้านอยู่เย็น) ประจำปี พ.ศ. 2564 ระดับจังหวัด เนื่องในวันที่ 9 มีนาคม 2565 วันคณะกรรมการหมู่บ้าน รวมจำนวนทั้งสิ้น 93 รางวัลทั่วประเทศ เพื่อสร้างแรงจูงใจและให้รางวัลแก่หมู่บ้านที่มีผลงานโดดเด่น สามารถเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงานให้แก่หมู่บ้านอื่นๆ นอกจากนี้ ยังผลักดันคณะกรรมการหมู่บ้าน ให้เป็น “รากฐานของแผ่นดิน” ให้มีความสำคัญต่อกระบวนการบริหารพัฒนาประเทศ ซึ่งคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นบุคคลในระดับพื้นที่ที่มีความใกล้ชิดกับประชาชน โดยทำหน้าที่ในการนำนโยบายของภาครัฐไปปฏิบัติและขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์สุขกับประชาชนในหมู่บ้าน ทำให้ประชาชน “ทุกข์น้อยลง สุขมากขึ้น” ดังคำที่ว่า “ประเทศต้องมีรัฐบาล หมู่บ้านต้องมี กม.”

คณะกรรมการหมู่บ้าน หรือ กม. ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พุทธศักราช 2486 มีบทบาทหน้าที่ในการช่วยเหลือแนะนำให้คำปรึกษาแก่ผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวกับกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่ บ้านและปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ รวมทั้งเป็นองค์กรหลักที่รับผิดชอบในการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านและบริหารจัดการกิจกรรมที่ดำเนินงานในหมู่บ้านร่วมกับองค์กรอื่นทุกภาคส่วน

กม. ประกอบไปด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำ ผู้แทนกลุ่ม หรือองค์กรในหมู่บ้าน และกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ประสานการทำงานเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นพลังสำคัญในการช่วยเหลือแนะนำ และให้คำปรึกษาแก่ผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวกับกิจกรรมอันเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน และบูรณาการการแก้ไขปัญหาและพัฒนาหมู่บ้าน ให้มีความเข้มแข็งตามแนวทางแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ก่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยการทำงานในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 5 มิติหลัก ได้แก่ 1. มิติด้านการปกป้องเทิดทูนสถาบันหลักของชาติ 2. มิติด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจ 3. มิติด้านการพัฒนาสังคม 4. มิติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และ 5. มิติด้านการพัฒนาคนและสร้างเสริมสุขภาพกายใจ ทั้งหมดนี้เพื่อพัฒนาหมู่บ้านให้มีความมั่นคง และมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศในทุกมิติ
ติดตามรายละเอียดคณะกรรมการหมู่บ้าน ตลอดจนผลงานที่น่าภาคภูมิใจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้ทางเว็บไซต์ www.kummakarnmoobaan.com








More Stories
“มหกรรมเจ้าพระยา-ป่าสัก UP EXPO@อ่างทอง” กิจกรรมหลักสร้างการรับรู้และส่งเสริมการตลาดธุรกิจการเกษตร โครงการยกระดับสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่อุปทานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
สงกรานต์ปี๋ใหม่เมืองแพร่ 2568 ฉ่ำเว่อร์ ! ‘Indigo Blue City Phrae Splash Festival 2025’ ชูพลัง Soft Power ปิดเมืองสาดความสุข กระตุ้นเศรษฐกิจคึกคัก ยกระดับจังหวัดแพร่ขึ้นสู่เมืองหลักท่องเที่ยว
สายสีแดง เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์