November 24, 2024

www.thainewsbiz.com

ครบธุรกิจ บันเทิง ท่องเที่ยว แลไลฟ์สไตล์

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สร้างโอกาสให้เด็กและเยาวชน จัดกิจกรรม Young ซน จนได้เรื่อง ถอดรหัสความซน เยาวชนคนต้นคิด “สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์”

(24 ธันวาคม 2566)  กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดกิจกรรม Young ซน จนได้เรื่อง
ถอดรหัสความซน เยาวชนคนต้นคิด “สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์”
ภายใต้โครงการศึกษา ทบทวน และถอดบทเรียนจากโครงการของผู้รับทุนที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ด้านเด็กและเยาวชน ประจำปี 2564 จำนวน 38 โครงการ ณ  โรงแรม De Prime Rangnam Hotel Tailor Hallเพื่อสนับสนุนและสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการผลิต พัฒนาเนื้อหา และส่งเสริมผู้ผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม พัฒนาไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ พัฒนาองค์ความรู้ด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เฝ้าระวังสื่อไม่ปลอดภัย และทักษะการรู้เท่าทันสื่อแก่เด็กและเยาวชน

กิจกรรม Young ซน จนได้เรื่องถอดรหัสความซน เยาวชนคนต้นคิด สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้รับเกียรติจาก ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และประธานคณะทำงานติดตามและประเมินผลโครงการหรือกิจกรรมตามสัญญาให้ทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำปี 2564 ประเภทส่งเสริมและสนับสนุนเด็กและเยาวชน ผศ.ดร.พงศ์พันธ์ อนันต์วรณิชย์ ประธานคณะทำงานติดตามและประเมินผลโครงการหรือกิจกรรมตามสัญญาให้ทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำปี 2564 ประเภทส่งเสริมและสนับสนุนเด็กและเยาวชน ร่วมกับคณะทำงานติดตามและประเมินผล,แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร ,นางรัตนากร ทองสำราญ , ดร.ธนกร    ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปอลดภัยและสร้างสรรค์ และเครือข่ายด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เข้าร่วมงาน

ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน  กล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีมาก เป็นความตั้งใจของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ต้องการเปิดโอกาสและเปิดพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนมีพื้นที่เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ให้เด็กและเยาวชนได้ผลิตสื่อสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับยุคสมัยและได้สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน

“ที่ผ่านมาเราพบว่าเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้รับทุน มีความสามารถในการผลิตสื่อที่มีฝีมือหลายโครงการ ซึ่งเป็นการพิสูจน์ว่าเมื่อเขาได้รับโอกาส ได้มีพื้นที่ปล่อยของสร้างสรรค์ ได้รับการไว้เนื้อเชื่อใจ เขาจึงตั้งใจผลิตผลงานเต็มที่ ทุนประเภทนี้มีความแตกต่างจากประเภทอื่น ไม่ใช่เน้นที่ผลงานอย่างเดียว แต่ต้องเน้นที่กระบวนการการเรียนรู้ การส่งเสริม การแลกเปลี่ยนวิธีคิด การบริหารจัดการ เพราะเวลาลงมือทำจริงอาจไม่เหมือนที่เขาคิดไว้”

การให้ทุนลักษณะนี้เป็นอีกภารกิจสำคัญของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ที่ต้องการส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็กและเยาวชนเข้าถึง เข้าใจ และฉลาดใช้สื่ออย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ด้วยนิเวศสื่อที่ดี รวมทั้งได้สร้างเครือข่าย ต่อยอดซึ่งกันและกัน  จึงเป็นที่มาของกิจกรรมในวันนี้ที่เด็กและเยาวชนได้มาแสดงผลงานและร่วมสรุปบทเรียนเพื่อเป็นประโยชน์ในการสนับสนุนทุนของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ต่อไป

ดร.ธนกร ศรีสุขใส กล่าวถึงความเป็นมาของการจัดกิจกรรม ในปี 2564 กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้เปิดรับข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรมประเภทส่งเสริมและสนับสนุนเด็กและเยาวชน เพื่อสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสผลิตสื่อที่มีคุณภาพ ปลอดภัยและสร้างสรรค์ สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสนำเสนอผลงานที่ดีออกสู่สังคม รวมทั้งนำสิ่งรอบตัวที่เกิดขึ้นมาถ่ายทอดสู่สังคม  จากการดำเนินงานสนับสนุนเด็กและเยาวชนทำให้กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้ผลงานสื่อจากเด็กและเยาวชนอย่างหลากหลายรวมทั้งเห็นกระบวนการทำงานร่วมกันของหลายฝ่ายที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ นำไปสู่การเปิดพื้นที่ในการสนับสนุนการทำงานของเด็กและเยาวชนต่อไป

ภายในงานมีการจัดกิจกรรม Workshop ประชุมเชิงปฎิบัติการในการถอดบทเรียน 38 โครงการ โดย
ดร.เนตรดาว ยั่งยุบล นักวิชาการอิสระ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุปราณี วัฒนสิน อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ลักษมี คงลาภ นักวิชาการอิสระ พูดคุยทำความรู้จัก และถอดบทเรียนโครงการร่วมกับผู้เข้าร่วมกว่า 50 คน