ประเด็นสำคัญ:
• บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด บริษัทผู้ให้บริการด้านดาวเทียมและเทคโนโลยีอวกาศ นำโดย คุณเจมส์ วรายุทธ เย็นบำรุง วิศวกรด้านการบินและอวกาศ อยู่ในช่วงของการระดมทุน 25 ล้านดอลลาร์ในซีรีส์ B โดยมูลค่าบริษัทก่อนการระดมทุนอยู่ที่ 75 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 2.3 พันล้านบาท)
• มิว สเปซ เปิดเผยในงานแถลงข่าว เรื่องการทำข้อตกลงความร่วมมือ MoU ระหว่างบริษัท มิว สเปซ และบริษัท ทีโอที ที่ผ่านมา ว่าด้วยเรื่องการวางแผนบริหารเงินทุนใหม่ เพื่อใช้ในการให้บริการอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียม สร้างโรงงานอัจฉริยะ(Smart Factory) และระบบการผลิตอัตโนมัติด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และระบบ ML (Machine Learning) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนดาวเทียมและระบบการทำงานของยานพาหนะแบบอัตโนมัติ ตลอดจนเทคโนโลยีในการพัฒนา Data Center Constellation
• เป้าหมายสูงสุดของ มิว สเปซ คือการแก้ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรและปัญหาอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกอย่างรวดเร็วโดยวางแผนที่จะสร้างอาณานิคมและโรงงานบนดวงจันทร์เพื่อเป็นแหล่งทรัพยากรแห่งใหม่
มิว สเปซ บริษัทผู้ให้บริการด้านดาวเทียมและเทคโนโลยีอวกาศ นำโดย คุณเจมส์ วรายุทธ เย็นบำรุง วิศวกรด้านการบินและอวกาศ อยู่ในช่วงของการระดมทุนในซีรีส์ B ประมาณตัวเลขอยู่ที่ 25 ล้านดอลลาร์ โดยมูลค่าของบริษัทก่อนการระดมทุนอยู่ที่ 75 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 2.3 พันล้านบาท) จากการอ้างอิงของกลุ่มนักลงทุนคาดการณ์ว่าการระดมทุนครั้งใหม่นี้จะเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัท มิว สเปซ ถึง 100 ล้านดอลลาร์
เงินระดมทุนในซีรีย์ B จำนวน 25 ล้านดอลลาร์ จะถูกนำมาใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียมที่สามารถรองรับปริมาณการรับส่งข้อมูลที่มากขึ้น รวมถึงการขยายพื้นที่จุดรับส่งสัญญาณตามความต้องการของผู้ใช้งาน (High Throughput Satellite: HTS) โดยวิศวกร จาก มิว สเปซ จะเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนของดาวเทียม และดาวเทียมดังกล่าวจะนำมาใช้ประโยชน์ด้านการให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ในไทย รวมถึงภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นอกจากนี้ทางมิว สเปซยังมีแผนในการเร่งสร้างโรงงานอัจฉริยะขนาดกลาง เพื่อเป็นฐานการผลิตเทคโนโลยีที่สำคัญเพื่อการให้บริการในอนาคต ทั้งเทคโนโลยีดาวเทียม ระบบอัติโนมัติ และระบบหุ่นยนต์ โดยในการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวนั้น ทาง มิว สเปซ คาดว่าจะสามารถเพิ่มโอกาสในการลงทุน รวมถึงเพิ่มอัตราการจ้างงานแรงงานชั้นสูง อีกทั้งยังสามารถตอบสนองความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอวกาศที่เติบโตอย่างรวดเร็วได้ในอนาคตและ คาดว่าทาง มิว สเปซ จะสามารถสรุปจำนวนตัวเลขของการระดมทุนครั้งใหม่นี้ได้ในไตรมาสที่สี่นี้
มิว สเปซ ได้ร่วมมือกับ บริษัท ทีโอที ในการพัฒนาและ ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานภาคพื้นดิน (Infrastructure) โดยระดมทุนในการสร้างระบบเกตเวย์ (Gateway System) และการให้บริการภาคพื้นดินในส่วนของพื้นที่ที่สำคัญในประเทศไทย นอกจากนี้ทาง มิว สเปซ ยังมีแผนที่จะสาธิตการใช้เทคโนโลยี 5G ในโรงงานที่อยู่ภายในพื้นที่ของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ตลอดจนโอกาสในการสร้างอาชีพและรายได้ต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ รวมทั้งอุตสาหกรรมการบินและ อวกาศกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทยกล่าวในงานแถลงข่าว “การทำข้อตกลงความร่วมมือ MoU ระหว่างบริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อร่วมพัฒนาและลงทุนในธุรกิจดาวเทียม” ว่าบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์และ การเชื่อมต่อไร้สายโดยตรงผ่านระบบ Mobile Backhaul ของตลาดดาวเทียมท้องถิ่นในประเทศไทยนั้น มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องถึง 1.3 พันล้านดอลลาร์ต่อปี อีกทั้งมีความเป็นไปได้สูงที่บริษัท มิว สเปซ จะกลายเป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำรายใหม่ในอุตสาหกรรมดาวเทียมและ จะเป็นผู้บุกเบิกด้านการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของไทย มีรายงานเพิ่มเติมจากสถาบันการเงินรายใหญ่ของสหรัฐอย่าง Morgan Stanley ว่ามูลค่าของเศรษฐกิจอวกาศจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ทั่วโลกภายในปี 2583 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาค
นักลงทุนรายเดิมของมิว สเปซ ได้แก่ คุณประสพ จิรวัฒน์วงศ์ เจ้าของบริษัท Nice Group Holding Corp Ltd. ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ผลิตเครื่องแต่งกายกีฬารายใหญ่ให้แก่แบรนด์ Nike และ Adidas กลุ่มบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ รวมถึงบริษัทกองทุนด้านเทคโนโลยี Majuven Venture Capital ตลอดจนพันธมิตรอื่นๆมีความเชื่อมั่นและ ให้ความไว้วางใจ ยืนยันการเข้าร่วมในการระดมทุนในรอบนี้ พร้อมกับนักลงทุนรายใหม่ที่ตกลงเข้ามาเพิ่มเติมเช่นกัน
บริษัท มิว สเปซ เป็นบริษัทเทคโนโลยีด้านดาวเทียมและอวกาศ ก่อตั้ง ในปี พ. ศ. 2561 บริษัท ได้สร้างประวัติศาสตร์โดยการส่ง payload ครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียไปยังอวกาศ ด้วยจรวด New Shepard ของบริษัท Blue Origin นอกจากนี้ทาง มิว สเปซ ยังมีแผนจะสร้างดาวเทียมเป็นของตนเอง รวมถึงการเป็นผู้นำการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศในเอเชียแปซิฟิก เป้าหมายสูงสุดของทาง มิว สเปซ คือการแก้ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรและปัญหาอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกอย่างรวดเร็วโดยการค้นหาทรัพยากรใหม่ๆ นอกโลก เพื่อสร้างอาณานิคมของมนุษย์ อีกทั้งแหล่งอุตสาหกรรมบนดวงจันทร์ และมิว สเปซ ยังมุ่งมั่นที่จะทำให้การท่องเที่ยวทางอวกาศเชิงพาณิชย์เป็นไปได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้
*สามารถรับชมคลิป Unveil technology ได้ที่: https://www.youtube.com/watch?v=BTNg7qTpOBM
More Stories
ยาดมตราโป๊ยเซียน เปลี่ยนพลาสติกเป็นถนน UPCYCLING ลดปัญหาพลาสติกสะสมในประเทศ เพื่อประโยชน์อย่างยั่งยืนของคนไทย
หลังคาไวนิลท้องเรียบ กันความร้อนได้ไหม
เอสซีจี คว้า 5 รางวัลงาน TMA Excellence Awards 2024 โดดเด่นด้านผู้นำ พัฒนาคนธุรกิจเติบโตยั่งยืนด้วยนวัตกรรมกรีน ปรับองค์กรคล่องตัวยิ่งขึ้นรับทุกความท้าทายโลก