October 6, 2024

www.thainewsbiz.com

ครบธุรกิจ บันเทิง ท่องเที่ยว แลไลฟ์สไตล์

มางานเดียวได้เที่ยว ๑๔ จังหวัด “มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลางฯ”จัดขึ้น ๒๐-๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ที่วัดขนอน (หนังใหญ่) จ.ราชบุรี

การเกิดขึ้นของ “พิพิธภัณฑ์ หรือศูนย์เรียนรู้ในเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง” ล้วนแต่มีจุดเริ่มต้นมาจากจิตวิญญาณที่รัก และภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ท้องถิ่นของตัวเองทั้งสิ้น เป็นครั้งแรกและการรวมตัวครั้งสำคัญ “ศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร (องค์การมหาชน)” ร่วมกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ ๓๐ แห่งภาคกลาง จัดงาน “มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง วิถีวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ ประตูสู่สยามประเทศ” จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย ชูแนวคิด “๕ สายน้ำวัฒนธรรม แห่งลุ่มแม่น้ำภาคกลาง” ภายใต้แนวคิด “๕ สายน้ำวัฒนธรรม แห่งลุ่มแม่น้ำภาคกลาง” จาก ๑๔ จังหวัด แบ่งเป็น ๕ กลุ่มสายน้ำ “แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก-ลพบุรี แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำเพชรบุรี” พร้อมแล้วจะจัดงานนี้ขึ้น ระหว่าง ๒๐-๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ นี้ ที่วัดขนอนหนังใหญ่ อ.โพธาราม ต.สร้อยฟ้า จ.ราชบุรี

การเดินทางจาก กทม. มุ่งหน้าสู่อำเภอโพธารามเพียงแค่ ๘๐ กว่ากิโลเมตร ผ่านตลาดอำเภอโพธาราม ข้ามสะพานแม่น้ำแม่กลองเลี้ยวขวาเข้ามาที่วัดขนอน พบกับการเนรมิตบริเวณลานให้เป็นลานกิจกรรมที่มีทั้งกิจกรรมบนเวทีในโรงมหรสพ และเวทีกลางแจ้ง มาร่วมสัมผัสกลิ่นอายแห่งวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำตลอดระยะเวลา ๓ วันของการจัดงาน ซึ่งจะได้พบกับการเสวนาเชิงวิชาการ การสาธิตและการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน

** เวทีเสวนาเชิงวิชาการ ณ โรงมหรสพหนังใหญ่ (วัดขนอนหนังใหญ่)
** วันศุกร์ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๔.๓๐ น.
การเสวนา : เสวนาเชิงวิชาการเรื่อง “วิถีวัฒนธรรมชุมชน ๕ ลุ่มน้ำ นำมาซึ่งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น”

  • อ.แสนประเสริฐ ปานเนียม สำนักศิลปวัฒนธรรม ม.ราชภัฏเพชรบุรี
  • ตัวแทนพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำแม่กลอง
  • ตัวแทนพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
  • ตัวแทนพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำท่าจีน
  • ตัวแทนพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำเพชรบุรี
  • ตัวแทนพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสัก- ลพบุรี
    ผู้ดำเนินรายการ : นางสาวปราจิน เครือจันทร์ หัวหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติราชบุรี

** วันเสาร์ที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๑.๓๐ น.
การเสวนา : พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจะอยู่อย่างไร ในอนาคต

  • พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ, ดร. ประธานเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นล้านนา
  • นางศาริสา จินดาวงษ์ ผอ.สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี
  • อ.พิศาล บุญผูก พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านกวานอาม่าน
  • ผศ.ดร.กนกวรรณ แสนเมือง ปธ.หลักสูตรการท่องเที่ยวฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
    ผู้ดำเนินรายการ : นางสาวปราจิน เครือจันทร์ หัวหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติราชบุรี

** วันเสาร์ที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ – มางานเดียวได้เที่ยว ๑๔ จังหวัด “มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลางฯ”จัดขึ้น ๒๐-๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ที่วัดขนอน (หนังใหญ่) จ.ราชบุรี๑๔.๓๐ น.
การเสวนา : เจาะลึก ทวาราวดีในแดนสยาม “ถิ่น … ทวาราวดีภาคกลาง สู่สยามประเทศ”

  • นายมนัสศักดิ์ รักอู่ นักวิชาการอิสระ
  • รศ.สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง อาจารย์ประจำภาควิชา โบราณคดี ม.ศิลปากร
  • ผศ.ดร.กังวล คัชชิมา ม.ศิลปากร
  • อ.แสนประเสริฐ ปานเนียม สำนักศิลปวัฒนธรรม ม.ราชภัฏเพชรบุรี

** วันอาทิตย์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๑.๐๐-๑๒.๐๐ น.
การเสวนา : “ผลสำเร็จของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น”
– พระครูพิทักษ์ศิลปาคม ประธานเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง

  • ดร.กนกวรรณ แสนเมือง รองคณะบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • (ผู้เชี่ยวชาญด้านพิพิธภัณฑ์)
    ดำเนินรายการโดย นางสาวปราจิน เครือจันทร์ หัวหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติราชบุรี

** เวทีลานกลางแจ้ง (เวทีเล็ก)

  • การจัดแสดงนิทรรศการ ๓๐ พิพิธภัณฑ์ จาก ๕ ลุ่มน้ำ ประกอบด้วย แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก- ลพบุรี แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเพชรบุรี และแม่น้ำแม่กลอง
  • ชมผ้าไทยชาติพันธุ์ เช่น ลาวครั่ง ไทยทรงดำ ไทยพวน ไท-ยวน เป็นต้น
  • นิทรรศการเรียนรู้วิถีชีวิต – วัฒนธรรม
  • การละเล่นภาคกลาง เช่น การแสดงหนังใหญ่ (พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน) ลิเกมอญ (ชุมชนมอญสังขละบุรี) รำตังบั้งหมอ (พิพิธภัณฑ์ปานถนอม) การแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน “เซิ้งหางธงสงกรานต์” (พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นลาวครั่ง)
  • กิจกรรมการสาธิต – อาหาร เช่น กวนกระยาสารท (พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนบ้านดงกระทงยาม) อาหารมอญ (พิพิธภัณฑ์วัดม่วง) ขนมตาล (บ้านหนองขาว) การทำข้าวกระยาคู (พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนวัดฝั่งคลอง)
  • กิจกรรมการสาธิต – การแกะสลักลายวิจิตร (พิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา กวานอาม่าน)
    การทอผ้ากี่เล็ก (พิพิธภัณฑ์จันเสน) การทำดอกหน้าหมอน (พิพิธภัณฑ์ปานถนอม) การทำเสื่อกก, ปักสไบมอญ (สไบมอญบางลำภู) การปักลายผ้าไตดำ (พิพิธภัณฑ์ไตดำโบราณ) การสาธิตการตีเหล็ก (บ้านเก่าเล่าเรื่อง ตลาดบางหลวง) การทำกระเป๋าจากผักตบชวา (พิพิธภัณฑ์ชาวนาไทย บ้านลานแหลม)
  • กิจกรรมสาธิตเวิร์คช็อป เช่น ตัดพวงมะโหด การตอกหนังใหญ่ การตีเหล็ก การทำลูกช่วง การปั้นหม้อน้ำตาลจิ๋ว การระบายสีว่าวตัวเล็ก เป็นต้น
  • มิวเซียมช็อป ของดีพิพิธภัณฑ์ภาคกลางที่นำมาจำหน่าย
  • การจำหน่ายสินค้าชุมชนท้องถิ่น

ขอเชิญท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่น พาลูกหลาน มาชมงานศิลปวัฒนธรรม ที่มีเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ เหมาะกับการให้เยาวชนและนักท่องเที่ยวที่สนใจท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม ได้มาศึกษาเรียนรู้ นับว่าเป็นอีกงานหนึ่งที่มิควรพลาด สนใจสามารถติดตามตารางกิจกรรมการแสดง Work shop และการสาธิตได้ที่ Facebook : เพจมหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สุริสา อาศุศิริ โทร. ๐๙๒-๖๐๕-๖๔๔๕