เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดย ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ จัดการอบรมสวนปาล์มน้ำมันเพื่อควบคุมโรคลำต้นเน่า โดยชีววิธี ให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ณ อำเภอพุนพิน และอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี
ดร.กลอยใจ สำเร็จวาณิชย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ วช. เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยฯ ได้นำองค์ความรู้จากงานวิจัย ด้วยชีววิธีช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน จากโรคศัตรูพืช ในการนำแมลงตัวดี ตัวห้ำ ตัวเบียน และเชื้อจุลินทรีย์ ให้กับเกษตรกรที่ทำนาข้าว ไร่มันสำปะหลัง สวนส้มโอ สวนมะพร้าว ฯลฯ ทั่วภูมิภาคในประเทศ ที่ได้รับความเดือดร้อนจากแมลงศัตรูพืชตัวร้ายที่ทำลายพืชผักของเกษตรกร ในครั้งนี้ วช.ได้รับการร้องขอจากเกษตรกรชาวสวนปาล์ม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อกาโนเดอร์มาร์ หรือโรคโคนเน่า ในต้นปาล์มน้ำมัน ซึ่งชาวสวนปาล์มในเขตจังหวัดภาคใต้ในหลายจังหวัดตั้งแต่จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช กระบี่ สุุราษฏร์ธานี เป็นต้น โดยจังหวัดสุราษฏร์ธานีเป็นพื้นที่ปลูกสวนปาล์มมากถึง 25% เกษตรกรได้รับความเสียหายสูญเสียรายได้ จากต้นปาล์ม ยืนต้นตายเป็นจำนวนมาก วช. จึงได้ร่วมกับศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา โดย รศ.ดร.อัจฉรา เพลงหนู ผู้อำนวยศูนย์วิจัยฯ ภาคใต้ จัดการอบรม ให้ความรู้กับเกษตรกรชาวสวนปาล์ม ด้วยการนำเทคโนโลยี และชีวภัณฑ์ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน ณ ห้องประชุมบริษัททักษิณอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม (1993) จำกัด ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และวันที่ 23 กันยายน 2563 ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตาปี-อิปัน ผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน ณ บริษัท เอส.พี. โอ.อโกร อินดัสตรี้ส จำกัด ตำบลอิปัน อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อให้ผู้แทนกลุ่มละประมาณ 50 คน ได้รับความรู้เรื่อง ลักษณะการเข้าทำลายของโรคลำต้นเน่าเกิดจากเชื้อ Garnoderma Boninense หรือโรคโคนเน่า ซึ่งเกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเกิดโรค การทำลายเชื้อโรคไม่ให้เกิดการแพร่กระจายเป็นส่วนใหญ่ และยังไม่มีวิธีที่จะทำลายเชื้อ ทำให้เกิดความเสียหายไม่ต่ำกว่า 4 -50 % และผลผลิตลดลงเกินกว่า 50% เกษตรกรในแต่ละกลุ่มมีจำนวนเกือบ 300 ราย ในพื้นที่สวนปาล์มกว่า 10,000 ไร่
ดร.กลอยใจฯ กล่าวต่อว่า คณะนักวิจัย โดย ดร.จุฑามาศ แก้วมโน และอาจารย์ธีระพงศ์ จันทร์นิยม ที่ปรึกษา สถาบันวิจัยนวัตกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ได้ศึกษาการนำเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่สามารถควบคุมเชื้อราในดินที่เข้าทำลายรากจนเป็นสาเหตุโรคลำต้นเน่ามาเป็นระยะเวลาหนึ่ง จนปัจจุบันพัฒนาเป็นชีวภัณฑ์แกรนูลพร้อมใช้ 2 สูตร คือ ชีวภัณฑ์แบคทีเรีย Bacillus sp.(B-plam1 ) สำหรับควบคุมโรคลำต้นเน่า และชีวภัณฑ์แบคทีเรีย Bacillus sp.(B-plam 2 ) สำหรับเสริมสร้างการเจริญเติบโตของรากด้วย โดยใช้ ปริมาณ 20 กรัมละลายในน้ำสะอาด 5 ลิตร ฉีดเข้าลำต้นที่เป็นโรค ประมาณ 1 เดือน ดอกเห็ดของเชื้อราลดลง มีรากใหม่งอกเพิ่มขึ้น สามารถกลับมาให้ผลผลิตได้เหมือนเดิม
ทั้งนี้เกษตรกรผู้ได้รับความเสียหายหรือผลกระทบจากแมลงศัตรูพืช สามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. โทรศัพท์ 025612445
More Stories
ฟาร์มเอ็กซ์โป เปิดงานมหกรรมการเกษตร สุดยิ่งใหญ่ สร้างประสบการณ์ใหม่กับกิจกรรมไฮไลท์เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร
เปิดใจเด็กศิษย์อุเทนถวาย-บ้านกาญจนา แท็กทีมช่วยฟื้นฟูเชียงราย ตักโคลนล้างบ้าน
มหกรรมงาน IMI Show 2025 (Image Motion Innovation of Thailand) งานแสดงนวัตกรรมเทคโนโลยีภาพและวิดีโอครั้งแรกในประเทศไทย ที่ไบเทค