เมื่อเร็วๆนี้ คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) ร่วมกับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดกิจกรรมเปิดนิทรรศการ (Open House) และนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง ความหลากหลายทางพหุนิยมของกิจการโทรทัศน์ หรือ Diversity and Pluralismณ อาคารมิวเซียมสยาม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
ดร.จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) ด้านกิจการโทรทัศน์และ ผศ.ดร.ประวิทย์ ชุมชู หัวหน้าโครงการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกันตอบข้อซักถามเกี่ยวกับสถานการณ์กิจการโทรทัศน์ไทยในปัจจุบัน ภายใต้การกำกับดูแลของกสทช. ซึ่งมีการสะท้อนผ่านข้อมูลที่ได้รับจากการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ภาคต่างๆทั่วประเทศ โดยเลือกลงพื้นที่ใน 3 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี กระบี่และ พะเยา
ทั้งนี้ได้ร่วมทำโฟกัสกรุ๊ปกับทีวีชุมชนอันดามันที่จังหวัดกระบี่ พะเยาทีวีที่จังหวัดพะเยา และอุบลทีวีที่อุบลราชธานี นอกจากนี้ยังได้มีการทำแบบสอบถามอีกประมาณ 1200 กว่าตัวอย่าง เพื่อนำมาทำเป็นข้อสรุปในเรื่องการติดตามและประเมินผล ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ทั้งนี้งานวิจัยระบุถึงข้อค้นพบว่าภาพรวมโทรทัศน์ของประเทศไทยในปัจจุบันมีความหลากหลาย ที่เป็นพหุนิยมนะครับ ตั้งแต่โครงสร้างการส่งสัญญาณก็จากทีวีดิจิตอลธรรมดาซึ่งกสทช.กำกับดูแล เกือบ100%ทั้งประเทศ และโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมและโทรทัศน์ชนิดเคเบิ้ลที่กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งโทรทัศน์IPTV ที่ให้บริการอยู่ 4 ราย
ซึ่งถ้ามองถึงเนื้อหาที่หลากหลายในปัจจุบันแต่ ถ้าถึงเยาวชนก็ยังอยากได้รายการสำหรับเด็กเพิ่มมากขึ้น และผู้พิการยังต้องการชมรายการโทรทัศน์ปกติ โดยให้มีล่ามภาษามือช่วยสื่อสารในรายการต่างๆเพิ่มมากขึ้น ดร.จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร กตป. ด้านกิจการโทรทัศน์ กล่าวเสริมว่า
นอกจากการทำโฟกัสกรุ๊ปและแบบสอบถามแล้ว ยังได้มีการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสีย นักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องในสายงานด้วย จึงรวบรวมบทสัมภาษณ์มาจัดทำเป็นหนังสือ Diversity ทีวีไทย ที่ได้นำมาเปิดตัวในครั้งนี้ด้วย ที่น่าสนใจคือเรื่องทีวีเฉพาะ อาทิ ทีวีภูมิภาคของช่อง 11 T-sport 7 คือช่อง7ทีวีเพื่อกีฬาและการท่องเที่ยว ช่อง10โทรทัศน์รัฐสภา และ ALTV ของไทยPBS นอกจากนี้ยังมีส่วนของเนื้อหาที่เดิมจะถือเป็นเรื่องหมิ่นเหม่และต้องห้าม เช่น เนื้อหารายการสำหรับเด็ก มีซีรีย์ Y ของช่องGMM ซึ่งเกิดขึ้นตามกระแสความนิยมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
นอกจากนี้ในงานยังมีการนำเสนอชุดการแสดงพิเศษจากน้อง ๆ สมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย แล้วยังมีการเสวนาพิเศษในหัวข้อ“Diversity TV ไทย” ในด้านความหลากหลายทางพหุนิยมของกิจการโทรทัศน์ หรือ Diversity and Pluralism เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนากิจการสื่อ และกิจการโทรทัศน์ที่เหมาะสมกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ภายใต้มิติด้านการกำกับดูแล และการส่งเสริมความหลากหลายด้านกิจการโทรทัศน์ โดยมีผู้คนหลากหลายอาชีพและช่วงวัย ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานทั้งสิ้นประมาณ 150คน
More Stories
CCPIT ชูความสำเร็จมหกรรม “ความร่วมมือสีเขียวแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง” ดึงดูดผู้ร่วมงานนับพัน ร่วมตระหนักเทคโนโลยีนวัตกรรมสีเขียว
สสว. ลงพื้นที่ชุมชนหลังวัดโรมัน จ.จันทบุรี ส่งเสริมผู้ประกอบการ EEC หนุนการท่องเที่ยว โมเดล Blue Zone
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน เปิดตัว 40 ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ฝีมือดีจากทั่วประเทศ ร่วมชิงชัยรอบตัดเชือก การประกวดนักออกแบบผ้าไทยใส่ให้สนุกรุ่นใหม่ ระดับประเทศ